การประสานประโยชน์ร่วมกัน
ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีพในปัจจุบันทำให้รายได้ของชนชั้นกลางลงมาล่างถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าจำเป็นราคาแพงขึ้น แต่รายรับยัง คงเท่าเดิม การหากินฝืดเคือง การค้ารายย่อยทยอยปิดตัว เพราะถูกผู้ค้าปลีกรายใหญ่ขยายธุรกิจครอบคลุมครบวงจร
เกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชน จึงต้องหันมาร่วมมือกัน นำความสามารถเฉพาะตัว และของดีในชุมชนที่ตนอยู่อาศัย มาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อความอยู่รอด …
นี่คือที่มาของชุมชนและคนสูงวัยกับ “เครือข่ายอาชีพชุมชน” ที่มีกลุ่มสูงวัยใจอาสาเป็นแกนกลางประสานประโยชน์ร่วมกัน
ใครเป็นใครใน “เครือข่ายอาชีพชุมชน”
- เกษตรกรตัวอย่าง ทำฟาร์มเห็ดเล็กๆ ที่เน้นสร้างชุมชนมากกว่าการค้า “ป้านา” ธนพร โพธิ์มั่น แห่งหมู่บ้านเกษตรพอเพียง ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองขวางบน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
- ชาวนาหน้าใหม่ ผู้มีใจรักษ์ธรรมชาติ และเข้าร่วมโครงการแปลงสาธิตเกษตรทฤษฏีใหม่ กับจังหวัดปทุมธานี ลุงยักษ์ และ ครอบครัววิจิตรโอฬาร แห่งบ้านสวนเกษตรตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
- ธรรมชาติบำบัด และศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงวัย “ครูจง” บรรจง ทองย่น ผู้เดินตามรอยเท้าพ่อด้วยชีวิตที่พอเพียง ผู้สละทุนทรัพย์สร้างมหาวิชชาลัยชุมชน บ้านกระแชงสานสุข อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
- ใจอาสา เว็บไซต์เครือข่ายผู้สูงวัยและภูมิปัญญาชุมชน “ลุงแดงใจอาสา” ครูพิสุทธิ์ สมประสงค์ ประธานชมรมสูงวัยใจอาสา และภูมิปัญญาผู้สูงวัยต้นแบบศิลปะไม้ไอติม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- แชมพูมะกรูดแฮร์เบสต์ สินค้าชุมชนของคนสร้างงาน ลุงปรีชา สมวงษ์
เจ้าของประโยค “ชุมชนอยู่ไม่ได้ ผู้สูงวัยจะลำบาก” ประธานกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนไว้ท์เฮ้าส์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
- ขนมไทยพื้นบ้าน สินค้าชุมชนของชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านกระแชง
ป้าต้อย เสาวลักษณ์ พลับนิล สูงวัยใจอาสาที่ต้องการสืบสานการทำขนมไทยๆ ให้ลูกหลาน ในรายการลุยไม่รู้โรย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี - ประชาสังคมชุมชน ป้าใจ เพ็ญวดี วุฒิศิรินุกูล ใจอาสาชุมชนคนหนองเสือ ผู้ประสานงานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มสูงวัยใจอาสา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
- วัฒนธรรมชุมชน “คุณลูกจันทร์ “ เกศรินทร์ภรณ์ กิตติณัธฐพงษ์ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านกระแชง แกนนำชมรมดนตรีบำบัด และรำวงย้อนยุค อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
- หัตถกรรมสร้างอาชีพ กับห้องเรียนชุมชน ครูนิ กรรณิการ์ พุ่มคำ ครูใจอาสา ที่เสนอตัวเข้ามาเป็นวิทยากรประจำห้องเรียนชุมชน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้สูงวัย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
ทั้งหมดเป็นเพียงกลุ่มก่อตั้งเครือข่ายอาชีพชุมชน ในการประชุมครั้งที่1/2559 ที่บ้านธรรมชาติบำบัด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2559
ขอเชิญชวนสมาชิกใจอาสา และภูมิปัญญาผู้สูงอายุต้นแบบ ในชุมชน ต่างๆ จากทุกอำเภอ มาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อผลักดันเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของเรา ให้ก้าวพ้นขีดจำกัด
เพราะเราเชื่อเสมอว่า ก้าวไปด้วยกัน …. ไปได้ไกล
พิสุทธิ์ สมประสงค์
ประธานชมรมสูงวัยใจอาสา
1 พฤศจิกายน 2559