งานแกะ คือการสร้างให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีการใช้มีดแกะ
ส่วนงานสลัก เป็นการสร้างให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วเจาะ
การแกะสลัก จัดเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่รวมอยู่ในสาขาประติมากกรรม แต่ที่แตกต่างก็คือ กรรมวิธีของการแกะสลักคือการเฉือนออก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำรายได้ให้กับผู้ผลิตแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมที่แสดงออกถึงความมีศิลปะอันประณีตของชาติไทยอีกด้วย
การแกะสลัก (Carving) เป็นเทคนิคการสร้างสรรค์งานประติมากรรมมาแต่โบราณ ในการสร้างสรรค์จะต้องวางแผนงานไว้ก่อน เพราะการแกะสลักออกไปแล้ว ไม่สามารถจะเพิ่มเข้าไปใหม่อีกได้ เพราะวัสดุที่ใช้แกะสลักนั้นเป็นชนิดของแข็ง ได้แก่ หิน ไม้ ส่วนในการศึกษาของนักเรียนระดับนี้นั้น อาจจะใช้วัสดุจำพวกไม้เนื้ออ่อน สบู่ ปูนปลาสเตอร์ ผัก ผลไม้ เช่น มัน เผือก มะละกอ เป็นต้น
การแกะสบู่
- เกลาสบู่ให้ได้รูปก่อนแกะสลัก ควรปาดออกบางๆ ไม่ควรปาดเนื้อสบู่ออกมาก
- ขณะแกะสลักถ้ายังทำไม่เสร็จ ควรเก็บใส่กล่องปิดผาให้มิดชิด อย่าให้โดนลม จะทำให้ เนื้อสบู่แข็งเมื่อนำมาแกะอีกครั้งจะแกะยากและแตกหักได้ง่าย ทางที่ดีควรทำให้สำเร็จ ในแต่ละชิ้นงาน ไม่ควรรีบร้อนเพราะจะทำให้ชิ้นงานแตกหักได้
- ทำความสะอาดสบู่ที่แกะโดยใช้พู่กันปลายแหลมปัดตามซอกกลีบดอกให้เกลี้ยงเกลา
- มีดที่ใช้ในการแกะสลักสบู่ต้องมีความบาง เพราะถ้ามีดไม่คมจะทำให้แกะกลีบได้ไม่บางสวยเท่าที่ควร จึงควรหมั่นลับมีดให้คมอยู่เสมอ
- เศษสบู่ที่เหลือไม่ควรทิ้ง นำไปละลายเทใส่พิมพ์จับเป็นก้อนไว้สำหรับล้างมือหรือ ทำความสะอาดสิ่งของอื่นๆ หรือนำไปทำแป้งสบู่ เพื่อประดิษฐ์เป็นดอกไม้อื่นๆ
สนใจงานแกะสลักสบู่ และ ผัก ผลไม้ ติดต่อขอคำแนะนำ ครูนิ กรรณิการ์ ได้นะคะ ยินดีถ่ายทอดเป็นวิทยาทาน ติดต่อชมรมสูงวัยใจอาสา บ้านธรรมชาติบำบัด โทร. 089 4482 809
ชมรมสูงวัยใจอาสา
6 ธันวาคม 2559